ทักษะการสื่อสารหลักและเป็นทักษะภาษาคู่แรกที่เราเรียนรู้ตามธรรมชาตินั่นคือการฟังและพูดค่ะ และอาจเป็นทักษะที่ยากที่สุดเมื่อเทียบกับอ่านและเขียน แล้วจะฝึกอย่างไรถึงจะได้ผลและพัฒนาได้ดีที่สุดกันล่ะ? วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันค่ะ
ประสบการณ์ฟังครั้งแรกของคุณ
ประสบการณ์การฟังครั้งแรกของคนเราเริ่มขึ้นประมาณสี่เดือนหลังเราเกิด เมื่อหูของเราพัฒนาจนได้ยินเสียงของแม่และคนรอบ ๆ จากนั้นในช่วงนาทีของการเป็นทารก เราเริ่มได้ฟังเสียงต่าง ๆ รอบตัวและเสียงคนพูด ในที่สุดจึงนำมาเชื่อมกับภาพที่เห็นได้ เมื่ออายุได้สองขวบ เราก็จะได้เรียนคำศัพท์มากพอจากการที่ฟังพ่อแม่และคนในครอบครัวอย่างตั้งใจ เราเริ่มฝึกเลียนแบบเสียงที่ได้ยินและออกเสียงตามได้ชัดเจน และเมื่ออายุสามขวบ ความจำของเราเริ่มพัฒนาจนเราเริ่มเล่าเรื่องราวง่าย ๆ โดยใช้ tense ต่าง ๆ มาลองนึกดูแล้ว น่าอัศจรรย์นะคะ เราทุกคนเรียนรู้ภาษาแม่กันด้วยวิธีนี้
ฟังแบบเด็ก
เหมือนที่เราเคยฟังสมัยเป็นทารก พยายามเปิดใจให้กับการฟัง นั่นหมายความว่าฟังให้ได้ยินเสียง บทสนทนา โดยไม่ต้องพยายามวิเคราะห์ไวยากรณ์หรือโครงสร้างประโยคไปเสียหมดทุกจุด ไม่ต้องกลัวที่จะฟังโดยไม่เข้าใจเลยแม้แต่นิดเดียว ยิ่งเราฟังมาก เราจะยิ่งเริ่มเข้าใจมากขึ้นโดยวิธีการแบบธรรมชาติ เริ่มต้นฝึกภาษาจากการฟังก่อนแล้วค่อยฝึกเลียนแบบการพูดตาม
เป็นนักฟังที่ดี
คุณอาจคิดว่าทักษะการฟังของคุณดีแล้ว และคุณไม่มีปัญหาการฟัง แต่การเป็นนักฟังที่ดีต้องใช้ความตั้งใจมากกว่าที่คุณคิด การฟังมีสามขั้นตอนด้วยกัน
- รับสาร – คือช่วงเวลาที่คุณพร้อมและตั้งใจฟังผู้พูด และไม่เสียสมาธิ (ไม่คิดถึงเรื่องอื่น) หรือทำอย่างอื่น
- รอ – คือช่วงเวลาที่ผู้พูดยังพูดต่อ และคุณตั้งใจฟังโดยไม่ได้คิดว่าจะต้องตอบว่าอะไร คุณจะไม่พูดแทรกคู่สนทนา
- เข้าใจ – คุณนำสิ่งที่คู่สนทนาพูดมาคิด พยายามทำความเข้าใจสิ่งที่เขาอยากจะสื่อ ไม่ใช่ฟังเพียงแค่คำพูดที่ใช้ แต่สังเกตถึงน้ำเสียงและอวัจนภาษาต่าง ๆ ถ้าคุณได้มีโอกาสคุยแบบเห็นหน้ากัน
การฟังสอนให้คุณพูดเป็น
หลังจากได้ฟังแล้ว การพูดก็จะตามมา อย่างที่บอกไปด้านบน คุณได้เรียนรู้วิธีการพูดโดยการฟังและเลียนแบบ คุณได้เรียนรู้วิธีสร้างประโยคที่ยาวขึ้นและเล่าเรื่องโดยฟังมาจากคนอื่น และลองทำตามดูบ้าง การเรียนรู้วิธีการพูดต้องใช้การลองผิดลองถูกอย่างมาก เมื่อทดลอง ผิดพลาด ก็แก้ไข เมื่อประสบความสำเร็จก็ทำซ้ำและฝึกฝน คุณไม่อาจคาดหวังที่จะใช้คำหรือวลีใหม่ ๆ ได้อย่างไร้ที่ติตั้งแต่คราวแรก และอย่าคาดหวังว่าจะจำภาษาใหม่ได้ถ้าไม่ฝึก
เวลาที่เราฟังภาษาใหม่ การอ่านปากของผู้พูดและสังเกตวิธีการขยับของผู้พูดเป็นวิธีที่ช่วยได้มาก ทักษะการฟังของคุณจะช่วยให้คุณระบุเสียงและทักษะการมองเห็นของคุณจะช่วยให้คุณเลียนแบบตำแหน่งการขยับปากที่ถูกต้อง วิธีนี้ช่วยได้มากในการฝึกฟังเสียงที่ยากเช่น เสียง ‘th’ นอกจากนี้เวลาที่คุณฟังและเลียนแบบ อย่าลืมสังเกตเสียงสูงต่ำของผู้พูดและพยายามเลียนแบบ ประโยคตามธรรมชาติมักมีท่วงทำนองซ่อนอยู่ เสียงมักขึ้นสูงที่กลางประโยคและลดต่ำลงท้ายประโยค โดยลงเสียงหนักที่คำสำคัญหนึ่งหรือสองคำ คุณทำแบบนี้เวลาที่พูดภาษาแม่ได้โดยที่ไม่ต้องคิด และคุณจะได้เรียนรู้วิธีการทำเช่นนี้ในภาษาอังกฤษเช่นกัน
เคล็ดลับในการเป็นนักพูดที่ดี
การจะพูดภาษาที่สองให้คล่องต้องใช้เวลาและการฝึกฝน แต่มีเคล็ดลับเล็กน้อยที่จะช่วยคุณได้
- ให้เวลาตัวเองคิดสักเล็กน้อยก่อนที่จะเริ่มพูด
- พยายามอย่าแปลจากภาษาแม่โดยตรง การแปลยากกว่าการสื่อสารโดยการคิดเป็นภาษาอังกฤษเสียอีก ให้คุณลองนึกถึงสิ่งที่จะพูดแล้วลองหาวิธีพูดง่าย ๆ เป็นภาษาอังกฤษ
- ตอนแรกให้พูดช้า ๆ พอดี แต่ให้เป็นธรรมชาติเท่าที่ทำได้
- อย่าลืมออกเสียงคำต่าง ๆ อย่างที่ได้ยินมา ไม่ใช่อย่างที่เห็นเขียน
- ลองเชื่อมเสียงเวลาพูด แบบเดียวกับที่เจ้าของภาษาทำ เช่น “Have a nice day!” กลายเป็น Ha va nais dei คำว่า ‘have’ แลละ ‘a’ เชื่อมกัน และลองใช้รูปย่อ เช่น I’ve, they’re, it’ll เพราะเจ้าของภาษามักใช้ในภาษาพูด
- ใช้คำเชื่อมเช่น because, but, and หรือ so คำเชื่อมเหล่านี้จะช่วยให้เราแต่งประโยคได้ยาวขึ้นโดยการเชื่อมประโยคสั้น ๆ สองประโยคเข้าด้วยกัน
จะฝึกฝนอย่างไร?
- ฝึกฝนเพิ่มเติมโดยการเข้าร่วมกลุ่มสนทนาและกิจกรรมที่เปิดให้พูดคุยเกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ หรือลองนำไปใช้ในชีวิตจริง เช่น ซื้อตั๋วรถไฟ หรือสัมภาษณ์งาน
- พูดออกมาดัง ๆ เวลาที่อยู่คนเดียว โดยเฉพาะเวลาที่ทำแบบฝึกหัดเขียน
- อ่านและพูดในสิ่งที่คุณเขียน ทวนประมาณสองสามรอบ อาจฟังดูแปลกแต่การอ่านออกเสียงเป็นวิธีที่จะช่วยจำภาษาใหม่ ๆ และเพิ่มความมั่นใจให้ตัวเองอีกด้วย
- ลองอัดเสียงพูดของตัวเองและเปรียบเทียบการพูดของเรากับเจ้าของภาษา
เพื่อช่วยให้ได้ฝึก คุณควรจะลงเรียนคอร์สที่ช่วยให้คุณเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติอย่างที่อธิบายไว้ข้างบน ที่ Wall Street English บทเรียนทุกบทของเราเขียนขึ้นจากหลักการเรียนรู้ภาษาด้วยวิธีธรรมชาติ ฟัง เลียนแบบ และฝึกฝน อ่านละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน้า Our Method เพื่ออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการสอนของเรา
อย่างที่เห็นกันไปแล้ว ทักษะการฟังและพูดนั้นเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดและเป็นหัวใจของการเรียนภาษา ลองนำไปทำตามกันดูนะคะและมาเริ่มเรียนภาษาอังกฤษวันนี้ด้วยวิธีธรรมชาติและได้ผลที่สุด!
ทำไมไม่ลองทำแบบทดสอบวัดระดับภาษาอังกฤษของคุณกับแบบทดสอบสนุก ๆ ของเราดูล่ะคะ?