การใช้ภาษาได้คล่องก็คล้ายกับความสุข ทุกคนอยากได้ แต่ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าทำอย่างไรถึงจะได้ นี่น่าจะเป็นเป้าหมายสูงสุดสำหรับนักเรียน Wall Street English หลาย ๆ คน ดังนั้นทีมวิจัยของ WSE จึงตัดสินใจทำการศึกษาเรื่องทำอย่างไรจึงจะใช้ภาษาได้คล่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งครั้งนี้เราได้ศึกษาบทบาทที่ครูผู้สอนมีต่อการช่วยนักเรียนไปสู่การใช้ภาษาได้คล่องแคล่วดั่งใจ
คำถามที่เราตั้งเป้าหมายว่าจะหาคำตอบมีดังต่อไปนี้
- ระดับความคล่องแคล่วที่นักเรียนของ WSE ได้กันคือเท่าใด
- ครูผู้สอนคิดว่าคะแนนความคล่องแคล่วนั้นมีประโยชน์กับนักเรียนหรือไม่
- ครูผู้สอนมั่นใจในคะแนนความคล่องแคล่วที่ตนให้นักเรียนมากเพียงใด
- ครูผู้สอนได้พิจารณาระดับภาษาอังกฤษของผู้เรียนหรือไม่ก่อนให้คะแนนความคล่องแคล่ว
นักเรียน WSE ทุกคน ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นไปจนถึงขั้นสูง จะต้องเข้าเรียน encounter class เมื่อเรียนออนไลน์จบหนึ่งบท ขั้นแรกเราได้คำนวณตัวเลขมหาศาล (10,700 คะแนนค่าเฉลี่ยต่อหนึ่งเลเวล) ของคะแนนความคล่องแคล่วตลอดทั้งชั้นเรียน encounter class ทั้ง 80 ครั้ง เพื่อหาแพทเทิร์นการให้คะแนน จากนั้นเราได้แจกแบบสอบถามให้กับครูผู้สอน encounter class ในอิตาลีและจีน เพื่อดูว่าครูมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับคำถามเหล่านี้และครูคิดว่านักเรียนจะพัฒนาการใช้ภาษาของตนให้คล่องแคล่วได้อย่างไร นี่คือบทสรุปสั้น ๆ จากผลลัพธ์ที่เราได้พบ
เมื่อดูที่ผลวิเคราะห์ระดับความคล่องแคล่วในการใช้ภาษา ระดับความคล่องแคล่วของนักเรียน WSE นั้นค่อนข้างดี (3.16 / 4 หรือ 79%) แม้ว่าคะแนนความคล่องแคล่วจะเพิ่มขึ้นเมื่อเลเวลที่เรียนสูงขึ้น กล่าวคือจากประมาณ 3 (75%) ในผู้เรียนระดับเริ่มต้น survival level เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 3.3 (83%) ในระดับ mastery courses แสดงให้เห็นว่าครูผู้สอนมีแนวโน้มจะให้คะแนนความคล่องแคล่วของนักเรียนเป็นรูปแบบตายตัวมากกว่าที่จะให้คะแนนที่สะท้อนว่านักเรียนคล่องเพียงใดเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของเลเวลคอร์สที่นักเรียนเรียนอยู่ในขณะนั้น
รูปที่ 1.
ทีมวิจัยและครูผู้สอนของเราพบว่า:
- ครูผู้สอนเชื่อว่าคะแนนวัดระดับความคล่องแคล่วนั้นมีประโยชน์และช่วยนักเรียน ครูร้อยละ 87 เห็นด้วย
- ครูผู้สอนร้อยละ 93 คิดว่าตนสามารถประเมินระดับความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาของนักเรียนได้เต็มที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์คะแนนความคล่องแคล่วของเราสะท้อนให้เห็นว่าเราต้องช่วยให้แนวทางครูผู้สอนในการให้คะแนนนักเรียนโดยคำนึงถึงระดับภาษาอังกฤษของนักเรียนให้มากขึ้น
- ครูร้อยละ 84% คิดว่าระดับความคล่องแคล่วและแม่นยำนั้นแตกต่างกัน (เช่น บางคนอาจจะใช้ได้ถูกแต่ไม่คล่องแคล่ว หรืออาจจะใช้ได้คล่องแต่ไม่ถูก)
- จากนั้นเราได้ถามว่า “ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษานั้นเพิ่มเติมไปพร้อมกับทักษะความสามารถหรือไม่” (พูดอีกอย่างก็คือ นักเรียนที่อยู่ในระดับสูงนั้นคล่องกว่านักเรียนในระดับต้นหรือไม่) มีครูเพียงร้อยละ 10 ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อความนี้ ซึ่งสามารถช่วยอธิบายได้ว่าทำไมคะแนนความคล่องแคล่วเพิ่มมากขึ้นพร้อมระดับการเรียนรู้ดังที่เราเห็นด้านบน
- และเรายังถามครูผู้สอนอีกครั้งว่า “คุณเคยให้คะแนนความคล่องแคล่วสูงกับนักเรียนที่เรียนเลเวลต่ำหรือไม่ ครูร้อยละ 19 ว่าตนไม่เคย ซึ่งสอดคล้องกับครูร้อยละ 16% ที่คิดว่าความคล่องแคล่วและความถูกต้องนั้นเกี่ยวข้องกัน (กล่าวไว้ในข้อที่ 3)
เมื่อเราถามครูผู้สอนว่าตนมีอะไรจะแนะนำนักเรียนเพื่อนำไปพัฒนาความคล่องแคล่ว พวกเขามีคำแนะนำที่น่าสนใจอยู่หลายประการ
– แค่กล้าพูด โดยไม่ต้องกลัวผิด
– อย่าแปลจากภาษาแม่เป็นภาษาอังกฤษก่อนพูด
–ฝึกพูดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ถ้ามีโอกาสได้เจอเจ้าของภาษา ไม่อย่างนั้นลองพูดกับคนที่บ้าน หรือถ้าคนที่บ้านพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ให้ลองพูดกับตัวเอง (แต่อย่าพูดคนเดียวในที่สาธารณนะ!)
เราจะสรุปผลอะไรได้บ้างจากข้อมูลทั้งหมดที่ได้มา ข้อเสนอแนะมีดังต่อไปนี้
- ในการอบรมครู เราต้องช่วยครูผู้สอน โดยเฉพาะครูที่เพิ่งมาใหม่ให้เข้าใจว่านักเรียนแต่ละระดับคาดหวังความคล่องแคล่วอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเห็นพัฒนาการสู่เป้าหมายในการใช้ภาษาได้คล่องแคล่วของตนได้แม่นยำมากขึ้น
- เราจะได้เห็นว่าเราจะปรับปรุงการฝึกอบรมครูอย่างไรเพื่อช่วยให้พวกเราประเมินระดับความคล่องแคล่วของคนักเรียนได้ง่ายขึ้น
- เราจะเดินหน้าพัฒนาเครื่องมือทีช่วยให้ครูผู้สอนให้คำแนะนำที่เหมาะกับนักเรียนแต่ละคนในการพัฒนาความคล่องแคล่วของพวกเขาได้