เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมภาษาอังกฤษ บางศัพท์ บางคำ ทำไมถึงได้ให้ความหมายที่แตกต่างกัน เขียนไม่เหมือนกันนะ ? วอลล์สตรีทอิงลิช จะมาบอกเคล็ดลับวิธีแยกศัพท์ทั้งสองแบบนี้มาฝาก
เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า อเมริกานั้น จะใช้ภาษาอังกฤษแบบ American English (AE) แต่อังกฤษ จะใช้ภาษา British English (BE) หากเราสังเกตให้ดี จะเห็นได้ว่าในการพูด การเขียน หรือการอ่านนั้น ภาษาอังกฤษแบบทั้ง AE และ BE จะมีการใช้งาน สำเนียงที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากบริบททางสังคมและวัฒนธรรมมีส่วนที่ทำให้คำศัพท์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเจ้าของภาษาจากสองประเทศนี้ถูกนำไปใช้อย่างแตกต่างกัน
ดังนั้น ถ้าเรารู้จักแยกแยะและใช้ภาษาอังกฤษให้ถูกต้อง รวมทั้งรู้ถึงความแตกต่างของภาษาอังกฤษทั้งสองประเทศนี้ นอกเหนือจากจะใช้ภาษาอังกฤษได้หลากหลายมากขึ้นแล้ว ยังช่วยในเรื่องการทำคะแนนสอบ อย่าง การสอบ IELTS ได้มากขึ้นด้วย
จุดสังเกตที่น่าสนใจสำหรับความแตกต่างของ AE กับ BE มีจุดสำคัญ 3 ข้อ ที่ทำให้คำศัพท์ทั้ง 2 แบบแตกต่างกันคือ
ตัวสะกด (Spelling)
ภาษาอังกฤษแบบ BE และ AE แตกต่างกันนั้น เกิดจากความแตกต่างของรากภาษาที่มาจากภาษาละติน และภาษากรีก จึงทำให้การสะกดคำของทั้ง 2 แบบแตกต่างกัน อย่าง
ภาษาอังกฤษแบบ BE จะลงท้ายด้วยคำว่า -re , -our , -yse , -ence , -ogue
แต่ภาษาอังกฤษแบบ AE จะลงท้ายด้วยคำว่า -er , -or , -yze , -ense , -og / – ogue
เช่น centre / center (ศูนย์กลาง) , litre / liter (ลิตร) , anlyse / analyze (วิเคราะห์)
การออกเสียง (Pronunciation)
อีกหนึ่งอย่างที่ทำให้ทั้งสองแตกต่างกัน คือ การออกเสียงคำศัพท์ ศัพท์บางตัวทั้ง AE กับ BE จะมีการเน้นเสียง (Stress) ที่แตกต่างกันออกไป เช่น
คำว่า ballet (บัลเล่ต์) หากออกเสียงตามแบบ BE จะเน้นว่า ballet แต่ถ้าเป็น AE จะออกเน้นเสียงว่า ballet แทน
คำศัพท์ (Vocabulary)
คำศัพท์ในแบบ AE กับ BE ที่เราพบเห็นได้บ่อยครั้งที่มีความหมายเหมือนกัน แต่เขียนต่างกันโดยสิ้นเชิง เช่น
รถเข็นสำหรับซื้อของ = Trolley (แบบ BE) / Shopping cart (แบบ AE)
รถไฟใต้ดิน = Underground (แบบ BE) / Subway (แบบ AE)
รองเท้าผ้าใบ = Trainers (แบบ BE) / Sneakers (แบบ AE)
ยางลบ = Rubber (แบบ BE) / Eraser (แบบ AE)
จะเห็นได้ว่า นี่เป็นทริคง่ายๆ ที่ช่วยให้คุณสามารถแยกภาษาอังกฤษของทั้งสองประเทศนี่ออกจากกันได้ง่ายๆ และช่วยให้คุณสามารถทำข้อสอบ หรือเลือกใช้ได้ถูกสถานการณ์มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
แต่แน่นอนว่าถ้าใครที่อยากจะเชี่ยวชาญให้มากขึ้น หรือเข้าถึงแก่นแท้ของทั้งสองภาษาอังกฤษทั้งสองแบบให้มากขึ้น อาจจะเริ่มต้นจากการดูหนัง ดูซีรี่ส์ หรือเล่นเกมที่มีสำเนียงภาษาอังกฤษในแต่ละประเทศนั้นๆ เพิ่มเติมดูก็ได้เช่นกัน