จริงอยู่ว่าเวลาที่เราทำงาน การติดต่อด้วยทางอีเมลนับว่าเป็นวิธีหลักที่หลายๆ บริษัทยังคงใช้งานกันอยู่จนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเราจะมีโปรแกรมแชทที่รวดเร็วอยู่แล้วก็ตาม แต่วิธีการติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ ยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีการติดต่อหลายๆ แห่งยังนิยมใช้อยู่ เนื่องจากรวดเร็ว ตอบโต้ได้ทันที ทันใจ
เอ๋ แบบนี้มีภาษาอังกฤษอะไรบ้างนะ ที่เราควรเรียนรู้ไว้บ้างถ้าต้องใช้ติดต่อระหว่างการสนทนาผ่านโทรศัพท์บ้าง ? มาดูกันดีกว่า!
Hello, this is / it’s (ชื่อผู้พูด) from (ชื่อบริษัท/ชื่อหน่วยงาน)
หากคุณเป็นคนที่ต้องโทรไปตามติดต่อ การเริ่มต้นทักทายควรเริ่มต้นด้วยการบอกว่าตนเองเป็นใคร มาจากที่ไหน บางคนอาจจะแนะนำเสริมเข้าไปด้วยก็ได้ว่ามีตำแหน่งอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้รับสายเราได้ข้อมูลเบื้องต้น จะได้ให้ความช่วยเหลือ หรือตอบโต้บทสนทนาได้ถูกต้อง
แต่ในทางกลับกัน ในกรณีที่คุณต้องรับสาย และเป็นผู้แนะนำตัวก่อน อาจจะใช้ประโยคที่คล้ายคลึงกัน อย่างเปลี่ยนตอนเริ่มต้นด้วยชื่อบริษัท หรือหน่วยงานของคุณ แล้วใช้ may I help you? ต่อท้ายประโยคก็เป็นอันเรียบร้อย
ตัวอย่าง :
ABC Company, may I help you? (บริษัทเอบีซี มีอะไรให้ช่วยเหลือบ้าง ครับ / คะ )
Hello, ABC Travel, Somying speaking. How can I help you? (สวัสดีค่ะ เอบีซีทราทราเวล ดิฉันสมหญิงรับสาย มีอะไรให้ช่วยเหลือคะ)
Could / May / Can I speak to (ชื่อคนที่ต้องการขอสาย), please?
แหม โทรศัพท์มาแบบนี้ ยังไงก็ต้องการต่อสายถึงคนที่ต้องการจะพูดคุย ติดต่องานด้วยแน่นอน และสำหรับสูตรการขอสายถึงบุคคลที่ต้องการ เพียงแต่เติม Could / May ขึ้นหน้าประโยค ก็ดูสุภาพมากขึ้นแล้ว และสำหรับใครที่อยากให้ดูสุภาพมากขึ้นไปอีก ก็สามารถต่อ please ท้ายประโยคก็ได้เช่นกัน หรือใครที่อยากจะลองใช้ประโยคอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน
ตัวอย่าง :
I’d like to speak to (ชื่อผู้ที่ต้องการจะติดต่อ) , please. (ฉันขอพูดสายกับ …… ได้รึเปล่า?)
Could you put me through to ชื่อผู้ที่ต้องการจะติดต่อ) , please? (รบกวนต่อสายถึง……..ได้ไหม?)
Hello, This is Amorn from DFG Company. May I speak to Tony? (สวัสดีครับ นี่อมร จากบริษัทดีเอฟจีนะครับ ผมขอสายคุณโทนี่ได้รึเปล่า?)
Sorry, my English is not good. Could you speak a little slower?
(ขอโทษ ค่ะ/ครับ ภาษาอังกฤษของฉันไม่ค่อยดีเท่าไหร่ รบกวนพูดช้าๆ ได้ไหม คะ / ครับ?)
ระหว่างที่คุยเกิดติดขัดปัญหา อาจจะด้วยภาษาอังกฤษที่ไม่ชำนาญนัก อย่าอายที่จะบอกอีกฝ่ายให้ทราบ เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณฟังจับใจความได้ครบถ้วนแล้ว ยังป้องกันการได้รับข้อมูลผิดๆ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหากับเนื้องานได้
นอกจากปัญหาเรื่องภาษาอังกฤษแล้ว คุณอาจจะเจอปัญหาที่ยังไม่เข้าใจ ต้องการให้อธิบายทวนซ้ำ หรือ อธิบายเพิ่มเติม รวมถึงรบกวนให้คู่สนทนาพูดเสียงให้ดังขึน ก็อาจจะใช้ประโยคด้านล่างต่อไปนี้ควบคู่ได้เช่นกัน
ตัวอย่าง :
I’m sorry, Could you repeat that, please? (ขอโทษ ครับ / ค่ะ รบกวนอธิบายอีกครั้งได้ไหม ครับ / คะ?)
Could you speak up a little, please? (รบกวนคุณพูดดังขึ้นอีกนิดได้ไหม?)
He/She is not available at the moment.
(ตอนนี้เขาไม่ว่างเลย ค่ะ/ครับ )
ในกรณีที่คนที่ผู้สนทนาขอสายไม่ว่าง คุณสามารถบอกคู่สนทนาได้ง่ายๆ ตามประโยคข้างบนได้เลย ส่วนใครที่อยากจะให้สุภาพ เป็นทางการมากขึ้น ลองใช้คำว่า I’m afraid / I’m sorry ขึ้นหน้าประโยค ก็จะช่วยให้ประโยคดูสุภาพมากขึ้น
ตัวอย่าง :
I’m sorry , she/he’s in a meeting at the moment. (ขอโทษ ค่ะ/ครับ ตอนนี้เขากำลังประชุมค่ะ/ครับ)
I’m afraid she/he’s on another line at the moment. (ฉันเกรงว่าตอนนี้เขากำลังติดสายอื่นอยู่ ค่ะ/ครับ)
Could you ask him/her to call me back?
(กรุณาบอกให้เขาโทรกลับหาฉันด้วยได้ไหม ครับ/คะ )
ในกรณีที่อีกฝ่ายไม่ว่าง และเราต้องการให้คนที่เราต้องการติดต่อโทกลับ คุณสามารถใช้ประโยคเหล่านี้เพื่อแจ้งจุดประสงค์ต่างๆ ได้ และถ้าหากต้องการบอกเวลาด้วย ก็เติม call at + เวลา ต่อท้ายประโยค เพื่อบอกว่าถึงเวลาที่สะดวกรับสาย หรือเวลาที่ต้องการให้อีกฝ่ายติดต่อกลับ สำหรับใครที่กลัวว่าจะจำประโยคยาวๆ ไม่ได้ อาจจะใช้ please ตามด้วยการแจ้งให้อีกฝ่ายโทรกลับก็ได้เช่นกัน
ตัวอย่าง : Please tell him /her to call me back later. (รบกวนบอกเขาหน่อยว่าฉันโทรมา ช่วยโทรกลับด้วยนะ ครับ/ค่ะ)
จะสังเกตได้ว่าในบทสนทนาหลักๆ จะเน้นการใช้ Could I …. หรือ May I ….. ตามท้ายด้วย please ในประโยคเยอะเป็นพิเศษ เพราะการติดต่อทางโทรศัพท์ โดยเฉพาะเรื่องงานต้องการลักษณะประโยคที่เป็นทางการ แสดงความนอบน้อมเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเราต้องการขอร้องให้ใครช่วยเหลือ ศัพท์เหล่านี้นับว่าจำเป็นมากๆ และใช้ได้แทบทุกโอกาส
วอลล์สตรีทอิงลิช บอกเลยว่า นี่คือเทคนิคพิเศษ ไม่เพียงแต่ใช้ในบทสนทนาทางโทรศัพท์เท่านั้น แต่เราสามารถใช้สูตรนี้กับการสนทนาทั่วๆ ไปได้อีกด้วยนะ!